ถังดับเพลิงหรือเครื่องดับเพลิงมือถือมีกี่ชนิด วิธีการใช้ถังดับเพลิง

by Tracey Grant
270 views
ถังดับเพลิงมีกี่ประเภท

ถังดับเพลิง (Fire Extinguishers) มีกี่ชนิด และวิธีการใช้ถังดับเพลิง

คือ อุปกรณ์ดับเพลิงพื้นฐานที่ช่วยป้องกันเหตุอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากเราประมาท ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์ดับเพลิงมากมายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดกระแสไฟรั่วอัตโนมัติ เครื่องตรวจจับควัน หรือ ถังดับเพลิง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านเอาไว้ป้องกันเอาไว้ก่อนไม่เสียหาย โดยการเลือกถังดับเพลิงมาใช้งานภายในบ้านก็จะต้องพิจารณาจากประเภทของถังดับเพลิง จะต้องสอดคล้องกับสถานที่ที่จะนำไปวางติดตั้ง และเชื้อเพลิงที่ต้องการดับ ยกตัวอย่างเช่น กระดาษ ไม้ ผ้า น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม หรือไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

ดังนั้น การเลือกถังดับเพลิงจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด โดยถังดับเพลิงที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันก็มีให้เลือกอยู่ทั้งหมด 5 ประเภท แต่ละประเภทก็จะมีประสิทธิภาพในการดับเพลิงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสารดับเพลิงที่อยู่ในถัง ซึ่งก็จะมี ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซค์โฟม หรือเคมีสูตรน้ำ ซึ่งเราสามารถสังเกตุประเภทของถังดับเพลิงได้จากตัวอักษรที่ระบุอยู่บนตัวถัง A B C D หรือ K ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของสารเคมีที่อยู่ภายในและความสามารถในการดับเพลิง

ถังดับเพลิงประเภทต่างๆถังดับเพลิงประเภทต่างๆ

  • ถังดับเพลิงประเภท A เป็นถังดับเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง อาทิ ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง หรือพลาสติก เป็นต้น
  • ถังดับเพลิงประเภท B เป็นถังดับเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงในของเหลวติดไฟหรือก๊าซติดไฟ อาทิเช่น น้ำมัน ทินเนอร์ ก๊าซหุงต้ม จาระบี เป็นต้น
  • ถังดับเพลิงประเภท C เป็นถังดับเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
  • ถังดับเพลิงประเภท D เป็นถังดับเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงที่เกิดจากการทำปปฏิกิริยาของโลหะ
  • ถังดับเพลิงประเภท K เป็นถังดับเพลิงสำหรับเชื้อไฟที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารและไขมันสัตว์

ถังดับเพลิงประเภทของถังดับเพลิง

  • อย่างที่กล่าวมาข้างต้นถังดับเพลิงแต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสารเคมีที่อยู่ในตัวถังดับเพลิง โดยสารเคมีที่นำมาใช้ในการดับเพลิงก็จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ผงเคมีแห้ง ผงเคมีสูตรน้ำ สารฮาโลตรอน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ และโฟม ซึ่งสารเคมีแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติในการดับเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน
    ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
  • เป็นถังดับเพลิงที่เป็นสีแดง สามารถใช้ดับเชื้อเพลิงได้เกือบทุกประเภท A B C D เป็นถังดับเพลิงที่ราคาไม่แพงและสามารถหาซื้อง่าย แต่ถังดับเพลิงประเภทนี้เวลาฉีดออกมาแล้วจะฟุ้งกระจายและทิ้งคราบผงแป้งสีขาว หากเปิดใช้งานแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้อีกเพราะแรงดันจะตก ต้องนำส่งร้านเพื่อบรรจุใหม่ อายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี
    ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีสูตรน้ำ
  • เป็นถังดับเพลิงสีเขียว สามารถใช้ดับเชื้อเพลิงประเภท A B C ได้ เป็นถังดับเพลิงที่มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือห้องที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก

ถังดับเพลิงบรรจุสารฮาโลตรอน

เป็นถังดับเพลิงที่ใช้ดับไปได้ดี มีให้เลือก 3 เฉดสี คือ สีฟ้า สีสแตนเลส และสีแดง ถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถดับเชื้อเพลิงประเภท A B C และ K ได้ ราคาค่อนข้างถูกกว่าถังดับเพลิงชนิดแห้ง เหมาะกับการนำมาใช้งานภายในบ้าน ดับเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันได้ดี เมื่อเปิดใช้งานแล้วสามารถใช้งานต่อได้จนหมด

ถังดับเพลิงชนิดบรรจุco2ถังดับเพลิงชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

  • ตัวถังดับเพลิงจะเป็นสีแดง ตรงส่วนปลายกระบอฉีดจะมีขนาดใหญ่มากกว่าถังดับเพลิงประเภทอื่น เมื่อทำการฉีดจะมีไอเย็นพ่นออกมา คล้ายกับน้ำแข็งแห้ง สามารถดับเชื้อเพลิงประเภท B และ C เหมาะกับการใช้งานภายในห้องที่มีเครื่องจักรหรือสารเคมีที่สามารถติดไฟได้
    ถังดับเพลิงชนิดบรรจุโฟม
  • เป็นถังดับเพลิงที่หากฉีดออกมาแล้วจะเป็นฟองโฟมเพื่อคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ สามารถดับเชื้อเพลิงประเภท A และ B ได้ โดยเฉพาะกับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ หรือสารระเหยติดไฟต่างๆ เป็นถังดับเพลิงที่เหมาะกับการติดตั้งในภาคอุตสาหกรรม
  • สำหรับบ้านเรือนทั่วไป แนะนำให้เลือกซื้อถังดับเพลิงไว้ใช้งานที่บ้านอย่างน้อย 1 ถัง เป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความอุ่นใจของคนในครอบครัว โดยประเภทถังดับเพลิงที่เหมาะกับการใช้งานภายในบ้านก็จะเป็น ถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง ที่สามารถดับไฟได้ทั้งประเภท A B C จะเหมาะสมมากที่สุด ที่สำคัญ คือ ราคาถังดับเพลิงประเภทนี้ไม่แพงมากนัก

เกี่ยวกับเรา

แหล่งรวมความรู้ที่คุณสามารถนำไปใช้ ในชีวิตการทำงานได้จริง ด้วยเนื้อหาที่ทันสมัยและครอบคลุมทุกแง่มุมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ติดต่อ

บทความน่าสนใจ

logo drinstech

©2023 – All Right Reserved. Designed by Drinstech