เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน)
จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกว่า จป.หัวหน้างานนั้นมีหน้าที่อะไรและมีความสำคัญในองค์กร
ประเภทของ จป. มีอะไรบ้าง
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน : ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหัวหน้างาน นั่นหมายความว่า ตามกฏหมายแล้ว พนักงานในระดับหัวหน้างานในสถานประกอบกิจการทุกคนจะต้องเป็น จป.หัวหน้างานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การจะเป็น จป.หัวหน้างานนั้นจะต้องมีการ อบรม จป.เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรมา และได้รับการประกาศแต่งตั้งก่อน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร : การได้มาของ จป.บริหารไม่แตกต่างจาก จป.หัวหน้างานมากนัก แค่ไปอบรมจากสถาบันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นหน่วยฝึกอบรมก็เท่านั่น จะต่างกันก็ตรงที่ผู้ที่จะมาเป็น จป.บริหารต้องอยู่ในระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปเท่านั้น
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค : จะพบได้ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โดยนายจ้างต้องส่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ไปอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคเพิ่มเติม
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง : สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 คน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ในความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูงเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน จป.เทคนิคขั้นสูงก็สามารถเป็นได้ด้วยการอบรมเช่นกัน (และจบ ปวส. หรืออนุปริญญาเป็นขั้นต่ำ) แต่การได้ใบประกาศนีบัตรนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องสอบวัดระดับความรู้ แบ่งเป็นหมวดๆ ในหนึ่งคลาสจะมีคนสอบผ่านทุกหมวดแค่ไม่กี่คนเท่านั้น
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ : ใน จป.ทุกระดับมีแค่ จป.วิชาชีพเท่านั้นที่ไม่สามารถได้มาด้วยการอบรมและสอบเพียงเท่านั้น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพจะต้องจบปริญญาตรีด้านอาขีวอนามัย และความปลอดภัย หรือวิทยาศาตร์ความปลอดภัยจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น ในสถานประกอบการทีมีพนักงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปจะต้องมี จป.วิชาชีพ อย่างน้อยหนึ่งคน
สรุป
คือ สถานประกอบกิจการต่างๆ จะต้องมี จป. อย่างน้อยสามระดับ สองระดับแรก คือ จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร นอกเหนือจากนี้ก็จะเพิ่มเติมตามจำนวนพนักงาน ถ้ามีพนักงานตั้งแต่ 20 – 50 คน ก็ต้องเพิ่ม จป.เทคนิคเข้าไป พนักงาน 51 – 100 คน ก็เปลี่ยนจากเทคนิคเป็นเทคนิคขั้นสูง และถ้ามีพนักงานตั้งแต่ 101 คน ก็จะกลายเป็น จป.วิชาชีพแทนนั่นเอง
คราวนี้คงรู้จัก จป.แต่ละระดับกันแล้ว แน่นอนว่าหลายๆ คนคงสงสัยว่าจะมี จป. ไปทำไมกัน แล้วพวกเค้ามีหน้าที่อะไร แน่นอนว่าหน้าที่หลักๆ คือ การดูแลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน แต่เพื่อความชัดเจนกฏหมายก็ทำการกำหนดหน้าที่ของ จป.ระดับต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนซึ่งสามารถไปดูเพิ่มเติมได้ที่ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. ๒๕๔๙
กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
- การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
- การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
- การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
- การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
- สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
- โรงแรม
- ห้างสรรพสินค้า
- สถานพยาบาล
- สถาบันทางการเงิน
- สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
- สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
- สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
- สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
หน้าที่ตามกฎหมายของ จป.หัวหน้างาน
- กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
- กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๗ ให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๖) ถึง (๑๔) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๘ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานและมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- (๑) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- (๒) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ซึ่งการที่เราจะมาเป็น จป.หัวหน้างานได้นั้นจะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรอบรม จป หัวหน้างาน ตามที่กฎหมายกำหนดเสียก่อนซึ่งหลักสูตร
หัวข้ออบรม จป.หัวหน้างาน