โรคกระดูกสันหลัง อันตรายที่คาดไม่ถึง

by Tracey Grant
50 views
1.โรคกระดูกสันหลัง อันตรายที่คาดไม่ถึง

อันตรายจากโรคกระดูกสันหลัง อันตรายที่คาดไม่ถึง

ปัญหากระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องเล็ก หากมีอาการปวดหลังเพียงไม่นานแล้วหายได้จากการดูแลตัวเองคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้าปวดหลังเรื้อรังเป็นเวลานานและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอาการจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ด้านกระดูกสันหลัง

แนวโน้มการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บกระดูกสันหลังของคนไทยมีเพิ่มขึ้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ในวัยทำงาน หรือวัยกลางคนก็สามารถพบปัญหาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือบางครั้งอาจเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

กดทับเส้นประสาทได้ จากการใช้ชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวในท่าที่ไม่ถูกต้อง การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ การยกของที่หนัก การก้มหรือบิดเอี้ยวตัวผิดท่า รวมทั้งการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลันและรุนแรง จนไม่สามารถลุกเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ อาการปวดที่รุนแรงไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดเสมอไป

วิธีทำร้ายกระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว

  1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด
  2. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมงจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างเกิดการคั่งของกรดแลคติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
  3. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
  4. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
  5. การหิ้วของหนักบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
  6. การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขนอาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
  7. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนักเพราะเป็นฐานในการรับน้ำหนักตัว
  8. การยืนแอ่นพุง หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
  9. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋าโดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอดเพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
  10. การขดตัว นอนตัวเอียง ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้างเพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

5 สัญญาณอันตรายในโรคกระดูกสันหลัง

3.5 สัญญาณอันตรายในโรคกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลังร้าวลงขา

อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกบริเวณเอวปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทที่ควบคุมและรับความรู้สึกบริเวณขา อาการปวดมักรุนแรงขณะนั่ง เมื่อนานเข้าขาจะเริ่มชาเหมือนมีไฟฟ้าวิ่งแปล๊บๆ ในขา และกล้ามเนื้อข้อเท้าและต้นขาจะอ่อนแรงลงในที่สุด

ปวดคอร้าวลงแขน

อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกหรือกระดูกต้นคอเสื่อมจนกดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกของแขน เมื่อเป็นมากจะยกแขนได้ลำบาก และรู้สึกชาตลอดเวลา

เสียการทรงตัว เดินเซ สะดุดล้มบ่อย

อาการที่ดูเหมือนเป็นอาการของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังไม่ค่อยแสดงอาการปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงรอให้อาการเป็นมากก่อนจึงมาพบแพทย์ อาการเหล่านี้อาจหมายถึงไขสันหลังที่ถูกกดทับที่ถูกซุกซ่อนอยู่ กรณีนี้อุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยอาจนำไปสู่ภาวะอัมพาตได้

ปวดหลังรุนแรงในท่านอน

โรคกระดูกสันหลังโดยทั่วไปมักเกิดอาการขณะนั่งหรือเดิน และมักดีขึ้นหรือหายไปเมื่อนอนลง อาการปวดหลังรุนแรงขณะนอนราบเป็นอาการที่พบได้น้อยแต่อาจหมายถึงโรคเนื้องอกบางชนิดที่ซ่อนอยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะช่วยวินิจฉัยได้อย่างดี

ควบคุมปัสสาวะ อุจจาระลำบาก

สาเหตุของอาการนี้จากโรคกระดูกสันหลังมีได้หลายอย่าง เช่น การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงบริเวณกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกปลิ้นชิ้นใหญ่ที่กดทับเส้นประสาทหลายเส้น หรือโรคโพรงประสาทตีบแคบขั้นรุนแรง อาการนี้ถือเป็นอาการท้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อตัวโรคอยู่ขั้นรุนแรงโดยมักมีอาการปวดเรื้อรัง อาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณแขนขานำมาก่อน

ตรวจพบก่อนดีอย่างไร

การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด เช่นการรับประทานยาแก้ปวดร่วมกับการกายภาพบำบัดที่ถูกต้องมักจะเพียงพอในคนไข้ส่วนใหญ่ แต่เมื่อเส้นประสาทเริ่มสูญเสียการทำงานลงจากการโดนกดทับ การนำสิ่งที่กดทับออกโดยเร็วย่อมจะเปิดโอกาสให้เส้นประสาทได้ฟื้นฟูตัวเองได้ดีกว่า เทคโนโลยีการผ่าตัดปัจจุบัน เช่น กล้องเอ็นโดสโคป เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี หรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีส่วนช่วยให้การผ่าตัดปลอดภัยขึ้น แผลที่เล็กลงยังทำให้ผู้ป่วยฟื้นจากการผ่าตัดได้เร็ว และกลับคืนสู่ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

5 อาชีพเสี่ยง… กระดูกสันหลังพังไม่รู้ตัว

2.5 อาชีพเสี่ยงกระดูกสันหลังพังไม่รู้ตัวเช่นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

เราไม่ได้พูดถึงอาชีพที่เสี่ยงอันตรายอย่างพนักงานเช็ดกระจกบนตึกสูงหรือสตันท์แมนที่ต้องเข้าฉากแอคชั่นเป็นประจำ แต่หมายถึงอาชีพธรรมดาๆ ต่างหาก…มาดูกันว่ามีอาชีพใดบ้าง และพฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงทำกระดูกสันหลังพัง

  1. กราฟิกดีไซเนอร์ – รวมถึงอาชีพที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานานอย่างนักออกแบบ นักเขียน และชาวออฟฟิศทั้งหลาย และจะยิ่งเป็นการทำร้ายกระดูกสันหลังเมื่อนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง เมื่อลุกจากเก้าอี้กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันทีจึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวด
  1. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน – โดยเฉพาะพนักงานสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงเพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดีแล้ว การนั่ง เดิน หรือยืนนานๆ เพื่อทรงตัวบนเครื่องบินก็อาจส่งผลเสีย โดยอาการที่พบได้บ่อยคืออาการปวดหลัง จากการก้มๆ เงยๆ คอยยกกระเป๋าช่วยผู้โดยสาร และการออกแรงยกของหนักๆ ก็จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าและคอได้เช่นกัน
  1. ผู้ให้บริการตามห้างร้านต่างๆ – เช่นพนักงานในห้างสรรพสินค้าที่ต้องยืนนานๆ เพื่อให้บริการลูกค้า หรือจะเป็นพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะการยืนผิดท่าที่ทำให้กระดูกสันหลังโค้งงอ จะทำให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง และเสียความยืดหยุ่นไป โดยจะเสื่อมสภาพเมื่ออายุมากขึ้น
  1. ออร์แกไนเซอร์ – ที่ต้องจัดงานอีเวนต์หรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องยกของหนัก โดยการยกของหนักเป็นประจำ ก้มๆ เงยๆ บ่อย โดยเฉพาะการยกแบบผิดท่าและยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะเป็นการทำร้ายกระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว
  1. นักกีฬา – แม้ร่างกายของนักกีฬาจะมีความแข็งแรง แต่กระดูกสันหลังก็อาจได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการเล่นกีฬา และออกกำลังกายหักโหมเกินไปได้เหมือนกันนะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

แหล่งรวมความรู้ที่คุณสามารถนำไปใช้ ในชีวิตการทำงานได้จริง ด้วยเนื้อหาที่ทันสมัยและครอบคลุมทุกแง่มุมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ติดต่อ

บทความน่าสนใจ

logo drinstech

©2023 – All Right Reserved. Designed by Drinstech